localization คือการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือสำหรับภาษาในประเทศต่างๆ โดยมีการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งเพื่อทำการตลาดในประเทศนั้นๆ โดยเป็นการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและใช้ภาษาเพื่อเป็นการสื่อสารโดยตรงให้ผู้ใช้งานเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยการใช้ localization จะต่างจากการแปลโดยการใช้ Translate เพราะว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวอักษรแต่จะใช้อักษรรูปภาพและสีในการสื่อความหมายมากกว่า
localization คืออะไร
localization หรือเรียกว่า L10N คือการเปลี่ยนเนื้อหาประเภทรูปภาพให้เข้าถึงภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ โดยเป็นการทำตลาดแบบหนึ่งโดยเลือกเป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นรวมถึงมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ คู่มือการใช้งาน เอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ให้เป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีหลาย ๆ บริษัทที่ใช้ localization ในการช่วยเหลือส่งเสริมประชาสัมพันธ์ในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ที่มีการใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละท้องที่เป็นการเจาะกลุ่มเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ด้วยข้อมูลสินค้าบริการต่าง ๆ ที่เป็นภาษาและสอดคล้องกับวัฒนธรรมของพื้นที่นั้น ๆ
ตัวอย่างของ localization ที่มีให้เห็นทั่วไป
แต่หากว่ายังนึกภาพไม่ออกวันนี้เรามีตัวอย่างของการใช้ localization มาแนะนำเพราะอยากจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลยหลาย ๆ ธุรกิจก็มีการใช้ฟังก์ชันนี้ในการเจาะกลุ่มเข้าถึงประเทศต่าง ๆ ที่มีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป
- Application netflix เป็นหนึ่งตัวอย่างที่มองเห็นภาพได้ง่ายมากของการใช้ localization เพราะว่านอกจากมีการแปลซีรีส์หรือภาพยนตร์ให้เป็นของภาษาในท้องถิ่นนั้นๆ แล้วยังมีการนำรายการของในแต่ละประเทศที่เปิดให้บริการมาบรรจุไว้ตัวอย่างเช่นเมื่อเข้ามาในประเทศไทยก็มีการนำรายการต่าง ๆ ของประเทศไทยมาให้บริการในช่องของ netflix เป็นต้น
- ธุรกิจอาหารอย่าง KFC หรือ McDonald รวมถึงฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ ก็ได้มีการนำวัตถุดิบของแต่ละประเทศมาสร้างสรรค์เป็นเมนูที่ขายเฉพาะพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเช่นของร้าน KFC เมนูวิงแซ่บก็จะมีขายที่ประเทศไทยและเป็นวัตถุดิบเป็นอาหารที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
สิ่งเหล่านี้คือการใช้งาน localization ในการวางแผนผลิตคอนเทนต์หรือทำการตลาดเพื่อตอบโจทย์คนในประเทศนั้นๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเล็กน้อยเพื่อให้เข้าถึงวัฒนธรรมและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านของซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ นอกจากการแปลภาษาแล้วต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมของพื้นที่นั้น ๆ ที่เปิดให้บริการด้วยและเรื่องของอาหารก็เช่นกัน ยกตัวอย่าง localization ของธุรกิจอาหาร KFC ก็ได้มีการปรับปรุงรสชาติให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้นดังนั้นเมื่อไปกิน KFC ที่ต่างประเทศรสชาติจะไม่เหมือนกับที่กินในประเทศไทย
สำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตัวหรือสร้างการเติบโตขยายสาขาไปยังต่างประเทศนั้นการใช้ localization เป็นเรื่องที่น่าสนใจและไม่ควรมองข้ามเลยเพราะ localization จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเจาะกลุ่มเพื่อเข้าถึงลูกค้าในประเทศต่างๆ ที่มีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น